อาหาร

อาหารประจำชาติบรูไน






อัมบูยัต 
          เป็นอาหารยอดนิยมของบรูไนมีลักษณะเด่นอยู่ที่ตัวแป้งจะเหนียวข้นคล้ายข้าวต้ม หรือโจ๊กโดยมีแป้งสาคูเป็นส่วนผสมหลัก ตัวแป้งอัมบูยัตเอง ไม่มีรสชาติแต่ความอร่อยจะอยู่ที่การจิ้มกับซอสผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวนอกจากนี้ยังมีเครื่องเคียงอีก 2-3 ชนิด เช่น ผักสด เนื้อห่อใบตองย่างหรือเนื้อทอด  ทั้งนี้ การรับประทานอัมบูยัตให้ได้รสชาติ ต้องรับประทานตอนร้อน ๆจึงจะดีที่สุด
         ตัวแป้งจะเหนียวข้นคล้ายข้าวต้มหรือโจ๊ก โดยมีแป้งสาคูเป็นส่วนผสมหลัก และตัวแป้งอัมบูยัตไม่มีรสชาต ควรรับประทานขณะร้อนๆ โดยใช้แท่งไม้ไผ่ 2 ขา (Chandas) ม้วนแป้งรอบๆ แล้วจุ่มในซอสผลไม้เปรี้ยว (Cacah) หรือซอสที่ทำจากกะปิ (Cencalu) รับประทานคู่กับเครื่องเคียงอีก 2-3 ชนิด เช่น เนื้อห่อใบตองย่าง หรือเนื้อทอด เป็นต้น



-ท่านที่ต้องระวังเรื่องของอาหารไขมันสูง ควรเลี่ยงการรับประทานอาหารของชาวบรูไนที่นิยมการรับประทานอาหารทอดและใช้เครื่องเทศกับกะทิเป็นวัตถุดิบหลัก High Fat
-"นาซิ เลอมัก” (Nasi Lemak) คือ ข้าวหุงกับกะทิและใบเตย หรือในประเทศไทยเรียกว่า "ข้าวมัน” นั่นเอง รับประทานกับไก่ทอด หรือแกงกะหรี่ไก่ และเครื่องเคียง 4 อย่าง ได้แก่ ปลากะตักทอดกรอบ แตงกวาหั่น ไข่ต้มสุก และถั่วอบ นาซิ เลอมัก แบบดั้งเดิมจะห่อด้วยใบตองและมักทานเป็นอาหารเช้า แต่ในปัจจุบันกลายเป็นอาหารยอดนิยมที่ทานได้ทุกมื้อ
-"อุดัง ซามบาล ซีไร เบอซานตาน” (Udang Sambal Serai Bersantan) เป็นลักษณะคล้ายแกงกะหรี่กุ้งราดข้าว ควรรับประทานร่วมกับไข่ต้ม แตงกวา และถั่วลิสง
-"เรินดังเนื้อ” เป็นแกงเนื้อที่คล้ายพะแนงเนื้อของไทย เครื่องแกงของเรินดังมีส่วนผสมของพริกแห้ง หอม กระเทียม ขิง ข่า ตะไคร้ ลูกผักชี ยี่หร่า ลูกจันทร์ป่น พริกไทย มะพร้าวคั่วและแคนเดิลนัท เป็นอาหารที่สามารถทานได้ทุกมื้อ มักจะเสิร์ฟพร้อมกับข้าวสวยและรับประทานกับเครื่องเคียงต่างๆ ได้แก่ ใบมันสำปะหลังลวกผักบุ้งลวก เป็นต้น

-"เกอตูปัต” (Ketupat) ซึ่งจะเป็นข้าวเจ้าห่อด้วยใบมะพร้าวสานเป็นรูปตะกร้อ ทรงสี่เหลี่ยม หรือข้าวเหนียวห่อด้วยใบกะพ้อสานเป็นรูปสามเหลี่ยมแล้วนำไปต้ม โดยชาวบรูไนจะรับประทานอาหารชนิดนี้กับสะเต๊ะ หรืออาหารจำพวกแกงกะหรี่





การรับประทานอาหาร
-ควรฝึกการรับประทานอาหารด้วยมือเมื่อต้องรับประทานอาหารร่วมกับครอบครัวชาวบรูไน
-ควรเรียนรู้การรับประทานอาหารคาวร่วมกับชาวบรูไนที่มักมีข้าวเป็นอาหารหลัก และมีน้ำจิ้มปลาเค็ม และผักเป็นเครื่องเคียง
-ควรเลือกซื้ออาหารที่มีการปรุงตามวิธีฮาลาล เมื่อเชิญชาวบรูไนร่วมรับประทานอาหารด้วย เนื่องจากการบริโภคอาหารของชาวบรูไนนิยมอาหารฮาลาลที่ผลิตตามหลักการของศาสนาอิสลาม
-ควรเรียนรู้การปรุงอาหารของชาวบรูไนที่ใช้ "ส้มจี๊ด” เพื่อเพิ่มความเปรี้ยวในอาหารชาวบรูไนไม่นิยมใช้มะนาวในการปรุงอาหาร
ข้อควรระวังในการรับประทานอาหารร่วมกับชาวบรูไน
-เนื่องจากอาหารส่วนใหญ่ค่อนข้างรสจัด ซึ่งมักประกอบด้วยเครื่องเทศเป็นหลักในการปรุง ดังนั้น ท่านควรลองชิมอาหารก่อนเมื่อต้องรับประทานอาหารร่วมกับชาวบรูไน
-ห้ามโฆษณาอาหารจำพวกจานด่วน (Fast Food or Junk Food) ก่อนเวลา 22.00 น.เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กๆ ติดอาหารเหล่านั้นและเพื่อส่งเสริมการรับประทานอาหาร เชิงสุขภาพ
-ไม่ควรเดินรับประทานอาหารในที่สาธารณะ ชาวบรูไนถือว่าเป็นเรื่องไร้อารยธรรมรุนแรง (ยกเว้น การปิกนิก และการเดินรับประทานอาหารในงานเทศกาลต่างๆ
-ห้ามสั่งอาหารที่ปรุงด้วยหมู เมื่อร่วมรับประทานอาหารกับชาวบรูไน เนื่องจากชาวบรูไนเป็นมุสลิม ดังนั้นจึงไม่รับประทานเนื้อหมูเหมือนชาวมุสลิมทั่วโลก
-ชาวต่างชาติไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารต่อหน้าชาวบรูไนในช่วงถือศีลอดหรือเดินรอมฎอน และห้ามทุกคนในประเทศนั่งกินในร้านอาหารในช่วงกลางวัน แต่ซื้อกลับบ้านได้ในเดือนรอมฎอน
-ห้ามร้านอาหาร รวมทั้งสถานที่ทำงานทั้งหมดเปิดให้บริการในช่วงวันศุกร์ เวลา 12.00-14.00 น. เพราะเป็นวันสวดมนต์ใหญ่ ชาวมุสลิมต้องเข้ามามัสยิด
-ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ในที่สาธารณะหากดื่มต้องนำมาดื่มในที่พักส่วนตัวเท่านั้น

มารยาทบนโต๊ะอาหาร
-ห้ามสั่งอาหารต้องห้ามต่อไปนี้ คือ
1.สัตว์ที่ตายเอง
2.เลือดสัตว์
3.สุนัข
4.สัตว์ที่ถูกฆ่าจากจุดประสงค์เพื่อบูชารูปเคารพ
5.สัตว์ที่เชือดโดยไม่ระบุนามของพระเจ้า (อัลลอฮ)
6.สัตว์ดุร้ายที่ใช้เขี้ยวจับเหยื่อเป็นอาหาร เช่น เสือ สิงโต หมี เป็นต้น
7.สัตว์ปีกที่ใช้กรงเล็บจับเหยื่อ เช่น แร้ง เหยี่ยว
-ไม่ควรปฏิเสธเมื่อมีผู้ยื่นอาหารให้ เพราะถือเป็นการเสียมารยาทมาก หากต้องการปฏิเสธอาหารจานนั้นจริงๆ ต้องใช้มือขวาและแตะที่จานเบาๆ อย่างสุภาพ
-เมื่อท่านต้องการเชิญชาวบรูไนรับประทานอาหาร ควรขอให้ผู้รับเชิญชาวบรูไนเป็นผู้เลือกร้านอาหาร เพื่อเป็นการเลี่ยงปัญหาอาหารที่เป็นข้อห้ามของชาวมุสลิม






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น